P T IMAGE

ASST.PROF.PHORRAMATPANYAPRAT  TONGPRASONG, PhD, FHEA UKPSF

WEBSITE >> MUSTLAND.ORG
XXXXXXXXXXXXX
UP: 2025, Feb. 18

WBSC


ภาคการศึกษา 2/2567 (เปิดภาคการศึกษา 15 มกราคม 2568-29 เมษายน 2568)
เรียนทุกวันอังคาร เวลา 1300-1700 น. เริ่มอังคารที่ 21 มกราคม 2568 ห้อง 32-507 + ONLINE TEAMS
CH: dBizTECH66


รหัสวิชา 3692901

หน่วยกิต 3(2-2-5)
 


โครงการและทีมงานเสมือน


Project and Virtual Teams



คำอธิบายรายวิชา


แนวคิดเกี่ยวกับโครงการ การวางแผนโครงการแบบมีส่วนร่วม การเขียนโครงการและงบประมาณ การควบคุมโครงการ การติดตามและประเมินผลโครงการ การบริหารความเสี่ยง หลักการทำงานทีมงานเสมือน ชุมชนการทำงานเครือข่าย เครือข่ายการทำงานและความผูกพัน ความสำเร็จของการทำงานทีมเสมือน การเปลี่ยนแปลงและการโอนย้ายของสมาชิกทีมงาน การวัดผลกระทบต่อข้อกำหนด ประกอบด้วย ผู้นำ ความเชื่อใจ เครื่องมือการทำงาน การสื่อสารและข้อมูลป้อนกลับ การตัดสินใจ และฝึกปฏิบัติ

Concepts of a project; participatory project planning; project writing and budgeting; project control; project monitoring and evaluation; risk management; principles of virtual teams; virtual community; network and engagement; achievement of genuine workforce virtual teams; change and transition of team members; evaluation of requirements: leader, trust, tools, communication and feedback, decision-making; and hands-on practice 

XXXXXXXXXXXX
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 พัฒนานักศึกษาให้อธิบาย แนวคิดการทำงาน โครงการ การจัดการโครงการ หลักการทีมงานเสมือน ชุมชนเครือข่าย คิดวิเคราะห์ความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
1.2 พัฒนานักศึกษาให้สามารถ หรือพัฒนาสมรรถนะการทำงานร่วมกับผู้อื่น สร้างความสำเร็จในการทำโครงการ การวัดผลประเมินผลความสำเร็จของโครงการ ทักษะการช่วยเหลือผู้อื่น การประยุกต์และการฝึกปฏิบัติ
1.3 ฝึกให้นักศึกษาแสดงทัศนคติ เจตคติที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น ปฏิบัติตนเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน และสังคมด้วยการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์กับการจัดการโครงการและทีมงานเสมือนในสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
2.1 วัตถุประสงค์ของรายวิชา (ผู้สอน)
1) เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของการเรียนรู้เพื่อใช้ศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลทีเกี่ยวข้องกับธุรกิจสร้างสรรค์
2) เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างทัศนคติที่ดีของผู้เรียนต่อตนเองและผู้อื่นสำหรับผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชาที่กำหนดให้สามารถเชื่อมโยงกับผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)  และผลลัพธ์การเรียนรู้ประจำปี (YLOs)
3) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการทำงานร่วมกันของผู้ศึกษาในสังคมและเศรษฐกิจดิจทัล เพื่อให้สามารถแสดงผลผลิตของโครงการ หลักการจัดการโครงการร่วมกันในลักษณะทีมเสมือนได้
2.2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา  (นักศึกษา)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในรายวิชาได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ (CLOs)  ดังต่อไปนี้
1)    CLO1: อธิบายหลักบริหารจัดการความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคที่ตามหลักการจัดการความเสี่ยง
2)    CLO2: สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสาน ได้แก่ การประชุมออนไลน์ การทำงานเป็นทีมเสมือน โดยสามารถถ่ายทอดข้อมูลและความคิดเห็นได้อย่างชัดเจนและกระชับพร้อม รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อื่น
3)    CLO3: วิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของโครงการโดยใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม ได้แก่ SWOT analysis การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินผลกระทบของโครงการต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
4)    CLO4: ออกแบบและพัฒนาโครงการที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่และข้อจำกัดหลากหลายรูปแบบ
5)    CLO5: สร้างและรักษากระบวนการทำงานร่วมกันของทีมเสมือน ด้วยการแบ่งปันข้อมูล รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน
6)    CLO6: ประยุกต์หลักการบริหารโครงการมาตรฐานในการดำเนินโครงการ เพื่อให้โครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดตามระบบคุณภาพ
7)    CLO7: แสดงวิธีการวัดผลและประเมินผลโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อประเมินความสำเร็จของโครงการจากกระบวนการกำกับติดตามที่นำไปสู่การปรับปรุงในครั้งต่อไปให้ดีขึ้น
8)    CLO8: นำเสนอผลงานโครงการต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อที่หลากหลายและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

XXXXXXXXXXX

5 Course Leaning Outcomes (CLOs)

Understanding the CLOs

CLO stands for Course Learning Outcome, which is a statement that specifies what a student will be able to do at the end of a course or module.

1.     CLO1: Explain the principles of risk management and address issues that arise during project execution using tools and techniques aligned with risk management principles.

2.     CLO2: Communicate effectively in a hybrid work environment, including online meetings and virtual teamwork, by clearly and concisely conveying information and ideas, as well as actively listening to feedback from others.

3.     CLO3: Analyze and evaluate the feasibility of a project using appropriate tools and techniques, such as SWOT analysis, project feasibility studies, and assessments of the project's environmental, social, and economic impacts.

4.     CLO4: Design and develop a project that meets the needs of stakeholders while considering available resources and various constraints.

5.     CLO5: Build and maintain collaborative processes within a virtual team through information sharing, taking ownership of assigned tasks, and collaboratively resolving issues.

6.     CLO6: Apply standard project management principles to project execution to ensure the project meets its defined goals according to a quality system.

7.     CLO7: Demonstrate methods for measuring and evaluating project performance against established criteria to assess project success based on a monitoring process that leads to continuous improvement.

8.     CLO8: Present project results to stakeholders effectively using a variety of media that are appropriate for the target audience.

Breakdown of Key Points

·        CLO1-3: Focus on project planning, analysis, and risk management.

·        CLO2, 5: Emphasize communication and teamwork, especially in virtual environments.

·        CLO4, 6: Deal with project design, execution, and alignment with standards.

·        CLO7, 8: Cover project evaluation and stakeholder engagement.

In essence, these CLOs aim to equip students with the skills needed to effectively plan, execute, and evaluate projects while working collaboratively in various professional settings.


txtbook



XXXXXXXXXXXX

แนวทางปฏิบัติตนฝึกให้เป็นผู้มีสติ พร้อมทำงานทุกเมื่อ และความสามารถในการจัดการเวลากับงาน

รายชื่อ

เนื้อหา

สัปดาห์ 1-อังคารที่ 21 มกราคม 2568

แนะนำรายวิชา อธิบายกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมบรรยายภาพรวมของรายวิชาและเกณฑ์การวัดและการประเมินผล

แนวคิดเกี่ยวกับโครงการ (Project vision)   [PDFUP: Jan 23, 2025

  • หลักคิด องค์ประกอบ ทรัพยากร ของโครงการ
  • การจัดการโครงการ
  • การกำกับติดตาม และประเมินผล
  • # Project: Cencept; Principles; Resource Components
    # Project Management
    # Monitoring and Evaluation
จัดทำรายชื่อสมาชิกในห้องให้มีอย่างน้อย 15 กลุ่ม จัดทำรายชื่อแจ้งอาจารย์ผู้สอน และดำเนินการมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบให้กับสมาชิกทุกคน

สัปดาห์ 2 -อังคารที่ 28 มกราคม 2568

การวางแผนโครงการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Project Planning)

  • แนวการตัดสินใจ
  •  ความร่วมมือและการสร้างพลังการมีส่วนร่วม
  • การยอมรับและการปรับเปลี่ยน
# Decision Orientation
# Collaboration and Empowerment
# Acceptance and Modification
UP: Feb.17.2025 ฝึกการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม แต่ละกลุ่มให้ดำเนินการตรวจสอบโครงการของหลักสูตรฯ ในปีการศึกษา 2567 เพื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบ
การจัดกลุ่มใหญ่ ให้คงเหลือสมาชิกในสองกลุ่ม มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อมุ่งเน้นความสำเร็จ เกิดผลสัมฤทธิ์แห่งงาน

สัปดาห์ 3 -อังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568

การเขียนโครงการและการกำหนดงบประมาณ (Project Writing and Budgeting)

  • การเขียนโครงการ
  •  งบประมาณโครงการ
  • การจัดการโครงการเพื่อสร้างความคุ้มค่า
# Project Writing
# Project Budget
# Cost-benefit project management
UP: Feb.17.2025 ฝึกการปรับวิธีการเขียนโครงการให้มีครบองค์ประกอบของโครงการและวิเคราะห์ตามหลักความคุ้มค่า การจัดทำโครงการแบบมีส่วนร่วมให้ทุกคนบันทึกหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนไว้อย่างรอบคอบเพื่อประกอบการพิจารณา และหาแนวทางในการควบคุมมุ่งเน้นความสำเร็จ เกิดผลสัมฤทธิ์แห่งงาน

สัปดาห์ 4 -อังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568

การควบคุมโครงการ (Project Control)

  • แนวทางการควบคุมโครงการ
  • การสร้างความมั่นใจในคุณภาพ
# Project Control Guidelines
# Quality Assurance

สัปดาห์ 5 -อังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568

การติดตามและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation)

  • การติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการ
  • การประเมินผลโครงการ
# Monitoring the implementation of the project
# Project Evaluation

สัปดาห์ 6 -อังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

  •   การกำหนดความเสี่ยง             
  •   การประเมินความเสี่ยง
  • การจัดลำดับความเสี่ยง
# Risk Determination
# Risk Assessment
# Risk Ranking

สัปดาห์ 7 -อังคารที่ 4 มีนาคม 2568

หลักการทำงานทีมงานเสมือน (Foundations of virtual teamwork)

  • ภาพแวดล้อมลักษณะดิจิทัล
  • องค์ประกอบและหลักการทีมงานเสมือน
  • ความต่อเนื่องการทำงานและการเรียนรู้
# Digital Environment
# Virtual Team Composition and Principles
# Continuity of work and learning

สัปดาห์ 8 -อังคารที่ 11 มีนาคม 2568

ชุมชนการทำงานเครือข่าย (Virtual Community of Practice)

  • แพลตฟอร์มออนไลน์
  • การมีส่วนร่วมของสมาชิก
  • การสื่อสารและการแบ่งปัน
# Online Platform
# Members Engagement
# Communication and Sharing

สัปดาห์ 9 -อังคารที่ 18 มีนาคม 2568

เครือข่ายการทำงานและความผูกพัน (Collaborative Network and Engagement)

  • เครื่องมือช่วยอำนวยการสร้างความร่วมมือ
  • กิจกรรมการสร้างทีมสัมพันธ์
  • การสื่อสารความสำเร็จและสร้างการจดจำ
# Online Platform
# Members Engagement
# Communication and Sharing

สัปดาห์ 10-อังคารที่ 25 มีนาคม 2568

ความสำเร็จของการทำงานทีมงานเสมือน (Success of Virtual Team Work)

  • การสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจในการทำงาน
  • ความยืดหยุ่นในการทำงาน
  • การบริหารประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
# Building confidence in work
# Resilience in work
# Efficiency and reliability management

สัปดาห์ 11-อังคารที่ 1 เมษายน 2568

การเปลี่ยนแปลงและโอนย้ายของสมาชิก (Member Changes and Transfers)

  • การสื่อสารการเปลี่ยนแปลง
  • ความชัดเจนของบทบาทหน้าที่และการยอมรับปรับเปลี่ยน
# Change Communication
# Clarity of roles and responsibilities and acceptance of adjustments

สัปดาห์ 12-อังคารที่ 8 เมษายน 2568

การวัดผลกระทบต่อข้อกำหนด ด้านผู้นำ ความเชื่อใจ (Measuring the Impact on Requirements, Leadership, Trust)

  • ผู้นำทีมเสมือนกับแรงจูงใจในการทำงานทีม
  • จริยธรรมผู้นำ และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
# Virtual Team Leader and Teamwork Motivation
# Leadership ethics and building a society for learning

สัปดาห์ 13-อังคารที่ 15 เมษายน 2568

การวัดผลกระทบต่อข้อกำหนด (Measuring the Impact on Requirements)

  • ด้านเครื่องมือการทำงาน
  • ซอฟต์แวร์การจัดการโครงการ
  • เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล
  • เครื่องมือการจัดทำเอกสารรายงานและการนำเสนอ
# Functional Tools
# Project Management Software
# Data Analysis Tools
# Documentation, reporting, and presentation tools

สัปดาห์ 14-อังคารที่ 22 เมษายน 2568

การวัดผลกระทบต่อข้อกำหนด ด้านการสื่อสารและข้อมูลป้อนกลับ (Measuring the Impact on Requirements, Communication and Feedback)

  •   การรวบรวมข้อมูลและการแบ่งปันสารสนเทศ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและการสื่อสารเพื่อการให้ข้อมูลป้อนกลับ
  • กลยุทธ์เพื่อการยอมรับและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • การฉลองความสำเร็จและบทเรียนแห่งการเรียนรู้
# Data collection and information sharing
#Data analysis and communication for feedback
# Strategies for Continuous Adoption and Improvement
# Celebrating achievements and lessons of learning holes

สัปดาห์ 15-อังคารที่ 29 เมษายน 2568

การวัดผลกระทบต่อข้อกำหนด ด้านการตัดสินใจ (Measuring the Impact on Requirements Decision Making)

  • การกำหนดเงื่อนไขการประเมิน และทางเลือก
  • หลักการตัดสินใจ
  • การสื่อสารการตัดสินใจ เพื่อทางเลือกที่ดีขึ้น
# Determination of Evaluation Conditions and Alternatives
# Decision Principles
# Effective communication for improved decision-making


XXXXXXXXXXXX

ประเมินผลปลายภาคการศึกษาที่ 2/2567

พฤษภาคม 2568


สัดส่วนการประเมิน ระหว่างภาค: ปลายภาค คือ 80:20




XXXXXXXXXXXX

เอกสารหลัก

ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์. (2568).  โครงการและทีมงานเสมือน. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.


xxxxxxxxxx

โครงการ: ความหมาย องค์ประกอบ และความสำคัญ

โครงการ

โครงการ คือ กิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์ วางแผน และนำไปปฏิบัติได้ โดยมีระยะเวลาที่กำหนดชัดเจน และมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุให้สำเร็จ โครงการจะมีขอบเขตที่ชัดเจน ทั้งในด้านของทรัพยากร เวลา และผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ภาพแสดงวงจรการจัดการโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการเริ่มต้น การวางแผน การดำเนินการ การควบคุม และการปิดโครงการ

องค์ประกอบของโครงการ

โครงการที่ดีจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้

  1. วัตถุประสงค์: เป็นสิ่งที่โครงการต้องการบรรลุให้ได้ มีความชัดเจน วัดผลได้ และเป็นไปได้จริง
  2. ขอบเขต: กำหนดขอบเขตของโครงการอย่างชัดเจน ทั้งในแง่ของงานที่ต้องทำ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้ และทรัพยากรที่ต้องใช้
  3. ระยะเวลา: กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของโครงการ รวมถึงกำหนดกำหนดการทำงานของแต่ละกิจกรรม
  4. ทรัพยากร: ระบุทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ เช่น บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ และข้อมูล
  5. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: ระบุบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น ลูกค้า ผู้บริหาร ผู้จัดการโครงการ และทีมงาน
  6. ความเสี่ยง: ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ และวางแผนการจัดการความเสี่ยง

ความสำคัญของโครงการ

โครงการมีความสำคัญต่อองค์กรและบุคคล

·        การบรรลุเป้าหมาย: โครงการช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

·        การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง: โครงการช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว

·        การพัฒนานวัตกรรม: โครงการเป็นพื้นที่ในการทดลองและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ

·        การเพิ่มขีดความสามารถ: โครงการช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากร

·        การสร้างมูลค่าเพิ่ม: โครงการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร

 

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/88/Project-triangle-en.svg/220px-Project-triangle-en.svg.png

ภาพแสดงสามเหลี่ยมของการจัดการโครงการ ซึ่งประกอบด้วย คุณภาพ เวลา และงบประมาณ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ต้องบริหารจัดการให้สมดุล

Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Project_management_triangle

https://project-management.com/project-management-phases/

สรุป

โครงการเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย การจัดการโครงการที่ดีจะช่วยให้โครงการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กรและสังคม

สาระสำคัญ (ติดตามได้จากผู้สอน)

·        วัฏจักรชีวิตของโครงการ (Project Life Cycle)

·        เทคนิคการจัดการโครงการ (Project Management Techniques)

·        เครื่องมือในการจัดการโครงการ (Project Management Tools)

·        การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)


ทีมงานเสมือน: ความหมาย องค์ประกอบ และความสำคัญ

ทีมงานเสมือน (Virtual Team) คือ กลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน แต่สมาชิกในทีมกระจายกันอยู่ต่างสถานที่ อาจจะเป็นคนละเมือง คนละประเทศ หรือแม้แต่คนละทวีป การสื่อสารและทำงานร่วมกันจึงอาศัยเทคโนโลยีเป็นหลัก เช่น อีเมล โปรแกรมประชุมทางไกล และแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันออนไลน์

องค์ประกอบของทีมงานเสมือน

·        สมาชิกทีม: ประกอบด้วยบุคคลที่มีทักษะและความรู้แตกต่างกัน มารวมกันเพื่อทำงานร่วมกัน

·        เทคโนโลยี: เครื่องมือและแพลตฟอร์มที่ใช้ในการสื่อสารและทำงานร่วมกัน เช่น โปรแกรมประชุมทางไกล โปรแกรมแชท โปรแกรมจัดการโครงการ

·        เป้าหมายร่วม: เป้าหมายที่ชัดเจนที่ทีมงานทุกคนมุ่งมั่นที่จะบรรลุให้สำเร็จ

·        กระบวนการทำงาน: ขั้นตอนและวิธีการทำงานร่วมกันของทีม ซึ่งอาจรวมถึงการวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผล

·        วัฒนธรรมองค์กร: ค่านิยมและบรรยากาศในการทำงานขององค์กร ซึ่งส่งผลต่อการทำงานร่วมกันของทีม

ความสำคัญของทีมงานเสมือน

·        ความยืดหยุ่น: สามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน

·        ลดต้นทุน: ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและพื้นที่ทำงาน

·        เข้าถึงทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ: สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถจากทั่วโลก

·        เพิ่มความเร็วในการทำงาน: สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายๆ งาน และส่งมอบงานได้รวดเร็วขึ้น

·        ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว: สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

ความท้าทายในการทำงานของทีมงานเสมือน

·        การสื่อสาร: การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและปัญหาในการทำงาน

·        ความไว้วางใจ: การสร้างความไว้วางใจระหว่างสมาชิกทีมที่ไม่เคยพบหน้ากันเป็นเรื่องที่ท้าทาย

·        แรงจูงใจ: การรักษาแรงจูงใจของสมาชิกทีมที่ทำงานคนเดียวอาจเป็นเรื่องยาก

·        วัฒนธรรมองค์กร: ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาจส่งผลต่อการทำงานร่วมกัน

·        เทคโนโลยี: ปัญหาทางเทคนิคอาจขัดขวางการทำงานของทีม

 

ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จของทีมงานเสมือน

·        ผู้นำทีมที่มีประสิทธิภาพ: ผู้นำทีมต้องมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจ สร้างความไว้วางใจ และแก้ไขปัญหา

·        การสื่อสารที่ชัดเจน: การสื่อสารต้องชัดเจน ตรงประเด็น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

·        เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม: การเลือกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน

·        วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน: การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและส่งเสริมการทำงานร่วมกัน

·        การสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว: การสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกทีมจะช่วยเพิ่มความผูกพันและความไว้วางใจ

 

สรุป

ทีมงานเสมือนเป็นรูปแบบการทำงานที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุคดิจิทัล แม้จะมีความ
ท้าทายอยู่บ้าง แต่หากมีการบริหารจัดการที่ดี ทีมงานเสมือนก็สามารถสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมได้

สาระสำคัญ (ติดตามได้จากผู้สอน)

·        การสร้างทีมเสมือน: วิธีการสร้างและพัฒนาทีมงานเสมือน

·        การสื่อสารในทีมเสมือน: เทคนิคการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับทีมงานเสมือน

·        เครื่องมือสำหรับทีมงานเสมือน: โปรแกรมและแอปพลิเคชันที่ช่วยในการทำงานร่วมกันของทีมงานเสมือน


โครงการและทีมงานเสมือน: ความหมาย องค์ประกอบ และความสำคัญ

โครงการ

โครงการ คือ กิจกรรมหรือแผนงานที่มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดชัดเจน มุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายเฉพาะเจาะจง โดยอาศัยทรัพยากรต่าง ๆ เช่น เวลา เงินทุน และบุคลากรในการดำเนินงาน

ทีมงานเสมือน

ทีมงานเสมือน คือ กลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการ โดยสมาชิกในทีมกระจายกันอยู่ต่างสถานที่ อาศัยเทคโนโลยีในการสื่อสารและทำงานร่วมกัน เช่น อีเมล โปรแกรมประชุมทางไกล และแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันออนไลน์

องค์ประกอบของโครงการและทีมงานเสมือน

องค์ประกอบ

โครงการ

ทีมงานเสมือน

เป้าหมาย

เป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้

เป้าหมายร่วมที่สมาชิกทุกคนมุ่งมั่น

ขอบเขต

กำหนดขอบเขตของงานที่ต้องทำ

กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของแต่ละคน

ระยะเวลา

กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด

กำหนดระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอน

ทรัพยากร

บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ เวลา

เทคโนโลยีในการสื่อสารและทำงานร่วมกัน

สมาชิก

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ

สมาชิกทีมที่กระจายกันอยู่ต่างสถานที่

ความเสี่ยง

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ

ความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานระยะไกล เช่น ปัญหาทางเทคนิค การสื่อสารที่ไม่เข้าใจ

ความสำคัญของโครงการและทีมงานเสมือน

·        ความยืดหยุ่น: ทีมงานเสมือนสามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถจากทั่วโลก

·        ลดต้นทุน: ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและพื้นที่ทำงาน

·        เพิ่มความเร็วในการทำงาน: สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายๆ งาน และส่งมอบงานได้รวดเร็วขึ้น

·        ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว: สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

·        ส่งเสริมนวัตกรรม: การทำงานร่วมกันของผู้คนที่มีความหลากหลายทางความคิด จะนำไปสู่การเกิดไอเดียใหม่ ๆ และนวัตกรรม

ความท้าทายในการทำงานของทีมงานเสมือน

·        การสื่อสาร: การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและปัญหาในการทำงาน

·        ความไว้วางใจ: การสร้างความไว้วางใจระหว่างสมาชิกทีมที่ไม่เคยพบหน้ากันเป็นเรื่องที่ท้าทาย

·        แรงจูงใจ: การรักษาแรงจูงใจของสมาชิกทีมที่ทำงานคนเดียวอาจเป็นเรื่องยาก

·        วัฒนธรรมองค์กร: ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาจส่งผลต่อการทำงานร่วมกัน

·        เทคโนโลยี: ปัญหาทางเทคนิคอาจขัดขวางการทำงานของทีม

ปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จของทีมงานเสมือน

·        ผู้นำทีมที่มีประสิทธิภาพ: ผู้นำทีมต้องมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจ สร้างความไว้วางใจ และแก้ไขปัญหา

·        การสื่อสารที่ชัดเจน: การสื่อสารต้องชัดเจน ตรงประเด็น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

·        เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม: การเลือกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน

·        วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน: การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและส่งเสริมการทำงานร่วมกัน

·        การสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว: การสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกทีมจะช่วยเพิ่มความผูกพันและความไว้วางใจ

สรุป

โครงการและทีมงานเสมือนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในยุคปัจจุบัน การเข้าใจหลักการและองค์ประกอบของโครงการและทีมงานเสมือน จะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้


xxxxxxxxxx
Address:
Phorramatpanyaprat Tongprasong
Suan Dusit University,

295 Nakhonratchasima RD., Dusit,
Dusit, BKK, Thailand 10300.
TEL. +6622445748


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์
กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
บริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาธุรกิจสร้างสรรค์และเทคโนโลยีดิจิทัล

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา
แขวงดุสิต เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02 244 5748


https://musterverse.dusit.ac.th/


อีเมล
phorramatpanypaprat_ton@dusit.ac.th
phorramatpanyaprat@gmail.com
/////
LINE OA @mustland เพิ่มเพื่อน
  
Free Website Hit Counter