ASST.PROF.PHORRAMATPANYAPRAT
TONGPRASONG,
PhD, FHEA UKPSF
WEBSITE
>>
MUSTLAND.ORG
XXXXXXXXXXXXX
WBSC
ภาคการศึกษา
1/2567
เรียนทุกวันพฤหัสบดี
เวลา 1300-1600 น. ห้อง 32-507
แนวทางการจัดส่งงานเพื่อประเมินปลายภาคการศึกษา
1/2567
1. นักศึกษาออกแบบและแสดงสารสนเทศการประเมินผลสาระสำคัญพลเมืองดิจิทัล (3
มิติ) เชื่อมโยงกับพลเมืองสร้างสรรค์ (4 มิติ) กำหนดชื่อไฟล์ 670XX-3D4D
2. นักศึกษาออกแบบเพื่อนำเสนอสาระ "เส้นทางชีวิต ชีวิตสร้างสรรค์
และธุรกิจของใจ" กำหนดชื่อไฟล์ 670XX-CC
3. นำส่งภาพประกาศนียบัตรการเข้าร่วมอบรม AI กำหนดชื่อไฟล์ 670XX-C-AI
เมื่อเตรียมการพร้อมแล้ว LINK ส่งงาน
XXXXXXXXXXXXX
สำหรับกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในการจัดการเรียนรู้
1.
การแสดงตนเข้าเรียนด้วยการแนะนำตนเองผ่าน @MUSTLAND
2. การแสดงตนในการเข้าเรียนแต่ละสัปดาห์ด้วยการถ่ายภาพ และส่งเข้า
@MUSTLAND
[งานที่ได้มอบหมายและไม่รับส่งงานย้อนหลัง
แต่ใช้รายการเพื่อตรวจสอบการจัดส่งได้]
งานคู่ 1.
ฝึกคิดเชื่อมโยงและเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยเลือกผลงานของจังหวัดบ้านเกิดที่เป็นเอกลักษณะที่สามารถเชื่อมโยงกันศิลปะวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์พร้อมนำเสนอให้เพื่อน
ๆ มีส่วนร่วม
2. การเข้าร่วมกิจกรรมวันไหว้ครูของสาขาวิชา
งานเดี่ยว
1. เลือกสัตว์ที่ตนเองชอบ และไม่ซ้ำกับเพื่อน 1 ชนิด
เพื่อค้นหาภาพและนำเสนอภาพ ที่ @MUSTLAND
2. เลือกนำเสนอคลิปลูกของสัตว์ในข้อที่ 1
พร้อมแสดงความรู้สึกเมื่อได้ชมพฤติกรรมที่ปรากฏนั้น ที่ @MUSTLAND
XXXXXXXXXXXXX
3691209
พลเมืองสร้างสรรค์
Creative Citizen
คำอธิบายรายวิชา
ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้ในสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบแห่งดิจิทัล
โอกาสแห่งความท้าทาย พลวัตการเปลี่ยนแปลง มิติด้านร่างกาย
ด้านจิตใจ มิติด้านความรู้ มิติด้านความสามารถ การมุ่งความสำเร็จ
Creative citizenship; citizens
of the 21st century; knowledge of rights, duties, and responsibilities;
opportunities of challenges; dynamics of change, physical dimension,
mental
dimension, knowledge dimension, capability dimension; achievement
motivation.
XXXXXXXXXXXX
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา
เมื่อสิ้นสุดการจัดเรียนรู้แล้ว
ผู้เรียนที่ได้เรียนรู้รายวิชานี้ ตามข้อกำหนดและขั้นตอน
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
จะได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs)
ดังต่อไปนี้
1.
CLO1: อธิบายหลักคิดความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์
เพื่อการพัฒนาการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21 ความรู้ในสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบแห่งดิจิทัล
โอกาสแห่งความท้าทายในสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างชัดเจน
(PLO1-1B) ระดับ U Understanding
(explain)
2.
CLO2: แสดงความพร้อมด้วยการฝึกปฏิบัติตนเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ได้ตามหลักการประกอบกิจการที่ดีและกฎหมาย
(PLO1-1C) ระดับ AP Applying (practice)
3. CLO3: ฝึกการสำรวจ
ตรวจสอบ ตนเองกับสังคม
และธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลตามหลักการเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ในสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลโดยยึดหลักการเป็นคนไทยที่พึงประสงค์
(PLO1-1C/PLO3-3B) ระดับ AP Applying
(practice)
4. CLO4: ฝึกคิดเชื่อมโยงของศิลปะและวัฒนธรมในระดับองค์การ
ระดับชุมชน และสังคม
กับธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลตามหลักการเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ในสังคมและเศรษฐกิจดิจิล
(PLO1-1C/PLO3-3B) ระดับ AP Applying
(practice)
5. CLO5: ปฏิบัติตนเองให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจ
เพียรพยายาม
ยึดมั่นในจริยธรรมที่สัมพันธ์กับการมีส่วนรวมของความเป็นเมืองที่ริเริ่มสิ่งใหม่
และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมให้สอดคล้องกับคุณลักษณะนักศึกษาของหลักสูตร (PLO1-1A)-
Domain AF-Affective (act)
XXXXXXXXXXXX
5 Course Leaning Outcomes (CLOs)
1. Learners explain the principles of creative
citizenship. To cultivate creative thinking, it is important for
citizens of the 21st century to understand their rights and
responsibilities. The digital challenge entails both duties and
responsibilities. In society and the digital economy, opportunity is
clearly present.
2. Learners are ready to practice being creative
citizens, according to the principles of successful business and law.
3. Students practice surveying and examining
themselves and society. Students base their digital technology
businesses on the principles of being creative citizens in society,
whereas the digital economy is founded on the principles of being a
desirable Thai person.
4. Students practice thinking about connections
between arts and culture at the organizational, community, and social
levels with digital technology businesses based on the principles of
creative citizenship in society and the digital economy.
5. Learners conduct themselves with determination,
diligence, and adherence to ethics regarding participation in a city
that initiates new things. They assume public responsibility, aligning
with the program's student characteristics.
XXXXXXXXXXXX
เนื้อหา
1. ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์
2. พลเมืองแห่งศตวรรษที่
21
3. ทักษะและความรู้ดิจิทัล
4. ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ
5. ทรัพยากรดิจิทัล
6. โอกาสแห่งความอยู่รอดและความท้าทาย
- มิติด้านร่างกาย
- มิติด้านจิตใจ
- มิติด้านความรู้
-
มิติด้านทักษะความสามารถ
XXXXXXXXXXXX
ลักษณะของความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์
(Characters of Creative Citizen:
CCC )
การสร้างสรรค์ของพลเมืองเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชน
อาจใช้แนวทางที่สามารถสร้างสรรค์พลเมือง ดังนี้
- ส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วม การสร้างสรรค์ของพลเมืองต้องเริ่มต้นด้วยการส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ทุกคนได้มีโอกาสและสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการแบ่งปันความคิดเห็น
เช่น การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง
การจัดกิจกรรมสาธารณะที่เพิ่มสังคมชนกันในชุมชน
- สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ การสร้างสรรค์ของพลเมืองต้องขึ้นอยู่กับการสนับสนุนและการสร้างองค์ความรู้ในชุมชน
โดยการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
สร้างสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพและส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีและสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับชุมชน
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การสร้างสรรค์ของพลเมืองต้องสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ให้มีสภาวะที่ส่งเสริมการคิดอย่างสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม
สร้างพื้นที่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาในด้านนวัตกรรม เช่น
การสร้างศูนย์สร้างสรรค์และที่ประกอบอาชีพที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม
- สนับสนุนธุรกิจและการเริ่มต้นใหม่
การสร้างสรรค์ของพลเมืองต้องสนับสนุนธุรกิจและการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ
ในชุมชน
โดยการให้การสนับสนุนทางการเงิน
การจัดทำนโยบายที่ส่งเสริมธุรกิจและการเริ่มต้นใหม่
สร้างพื้นที่ที่สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจในชุมชน
และสร้างโอกาสให้กับผู้มีความสามารถและความคิดสร้างสรรค์
- สร้างสภาวะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การสร้างสรรค์ของพลเมืองต้องสนับสนุนสภาวะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล
เช่น การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ออนไลน์
การสร้างโครงสร้างการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น
และการสนับสนุนการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล
xxxxxxxxxxx
Address:
Phorramatpanyaprat
Tongprasong
Suan Dusit University,
295
Nakhonratchasima RD., Dusit,
Dusit, BKK,
Thailand 10300.
TEL. +6622445748
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์
ต้องประสงค์
กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
บริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาธุรกิจสร้างสรรค์และเทคโนโลยีดิจิทัล
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
เลขที่
295 ถนนนครราชสีมา
แขวงดุสิต
เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร
10300
โทรศัพท์ 02 244
5748
https://musterverse.dusit.ac.th/
อีเมล
phorramatpanypaprat_ton@dusit.ac.th
phorramatpanyaprat@gmail.com
/////
LINE OA @mustland
|