ASST.PROF.PHORRAMATPANYAPRAT
TONGPRASONG,
PhD, FHEA UKPSF
WEBSITE
>>
MUSTLAND.ORG
XXXXXXXXXXXXX
ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์
ต้องประสงค์ และธนากร ปักษา. (2567). นวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบก่ารธุรกิจร้านอาหารตามวิถีชีวิตใหมในชุมชนเมือง
กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
(สำนักงานวิจัยแห่งชาติ).
*****
ศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร
หมายถึง ลักษณะการนำความรู้ ความสามารถ
กำลังของสติปัญญาตามคุณลักษณะความรู้
ความสามารถหรือคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคลของผู้ประกอบการ
หรือบุคลากรในกิจการมาใช้ประโยชน์ สร้างคุณค่าจากการบริหารจัดการ
การตลาดธุรกิจบริการ ด้านการเรียนรู้
ความรู้และเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจด้านอาหาร
ด้วยกระบวนการที่ชัดเจนพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำเสนออัตลักษณ์ของสินค้าหรือบริการ
สร้างการรับรู้คุณค่าของสินค้าหรือบริการ
การตลาดธุรกิจบริการจากมุมมองของลูกค้าหรือผู้บริโภค
ด้วยความสร้างสรรค์ทำให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลดังกล่าวสามารถปฏิบัติงานได้ผลงานที่โดดเด่น
ทำงานได้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ การค้าหรือการบริการ
ศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการ
(Entrepreneurship Potential: EP;
Entrepreneurship Orientation: EO)
หมายถึง
ลักษณะของบุคคลในการเปลี่ยนแปลงความคิดเป็นการกระทำจากการแสวงหาโอกาส
ทำการประเมินและใช้ประโยชน์จากโอกาสเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมทางธุรกิจด้านอาหารรูปแบบใหม่
ๆ โดยมุ่งที่จะทำงานเชิงรุกจากการกำหนดเป้าหมายให้ได้สินค้า ผลิตภัณฑ์
กระบวนการหรือบริการใหม่จากการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ด้วยนวัตกรรมให้ได้รับผลประโยชนจากกิจกรรมหรือภารกิจนั้น
ๆ สร้างคุณค่า สร้างนวัตกรรม
และมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า
ภายใต้เงื่อนไขของความไม่แน่นอน (ความเสี่ยง)
ลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ
(Characters of Entrepreneurial
Orientation: CEO)
ประกอบด้วย 5 ประการ ได้แก่ (1) การมีนวัตกรรม (2) ความกล้าเสี่ยง (3)
การทำงานเชิงรุก (4) ความกล้าที่จะแข่งขัน และ (5) การมีอิสระในการบริหาร
รายละเอียด ดังนี้
(1) การมีนวัตกรรม (Innovativeness) หมายถึง
การรับรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การรับรู้ในโอกาสและคว้าโอกาสนั้น
เปลี่ยนโอกาสให้เป็นความคิดที่สามารถทำการตลาดได้
การดำเนินธุรกิจในวิธีการแบบใหม่ให้มีเอกลักษณ์ที่สามารถอธิบายความเป็นผู้ประกอบการร่วมสมัยที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า
(2) ความกล้าเสี่ยง (Taking Risks)
หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับโอกาสต่าง ๆ
ที่เข้ามาและตัดสินใจในบริบทที่มีความไม่แน่นอน
กล้าเสี่ยงต่อสิ่งที่ไม่รู้ กล้าใช้ทรัพย์สินจำนวนมากสำหรับก่อตั้งธุรกิจ
และกล้ากู้ยืมทรัพย์สินจำนวนมากสำหรับการลงทุน
(3)
การทำงานเชิงรุก (Proactiveness)
หมายถึง การทำงานที่มองไปข้างหน้าเพื่อแสวงหาความเป็นผู้นำในตลาด
มองการณ์ไกล (วิสัยทัศน์)
เพื่อหาโอกาสความสำเร็จและความต้องการในอนาคตได้อย่างสร้างสรรค์และสร้างคุณภาพของงาน
(4)
ความกล้าที่จะแข่งขัน (Competitive Aggressiveness)
หมายถึง
ความพยายามในการแข่งขันกับคู่แข่งในธุรกิจที่มีลักษณะชอบต่อสู้ต่ออุปสรรคและการแข่งขันที่รุนแรง
เพื่อพัฒนาตำแหน่งของธุรกิจ และขจัดอุปสรรค คู่แข่งในตลาด
(5)
การมีอิสระในการบริหาร (Autonomy)
หมายถึง ความสามารถในการนำตนหรือกิจการไปสู่โอกาส
สามารถทำงานได้ด้วยตนเองและสามารถตัดสินใจได้ในภาวะบีบบังคับ บีบคั้น
หรือมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรการบริหาร
Address:
Asst.Prof.Phorramatpanyaprat
Tongprasong, PhD, FHEA
Suan Dusit University,
295
Nakhonratchasima RD., Dusit,
Dusit, BKK,
Thailand 10300.
TEL. +6622445748
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์
ต้องประสงค์
กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
บริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาธุรกิจสร้างสรรค์และเทคโนโลยีดิจิทัล
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
เลขที่
295 ถนนนครราชสีมา
แขวงดุสิต
เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร
10300
โทรศัพท์ 02 244
5748
https://musterverse.dusit.ac.th/
อีเมล
phorramatpanypaprat_ton@dusit.ac.th
phorramatpanyaprat@gmail.com
/////
LINE OA @mustland
|