P T IMAGE

ASST.PROF.PHORRAMATPANYAPRAT  TONGPRASONG, PhD, FHEA UKPSF

WEBSITE >> MUSTLAND.ORG
XXXXXXXXXXXXX


ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์. (2548). สื่อโลกกับประเทศไทย : ศึกษากรณีแนวคิดของโรเบิร์ต แมคเช็สนีย์. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

*****


บทคัดย่อ


สารนิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอสื่อ ในระดับต่าง ๆ นับแต่ระดับภูมิภาค ระดับโลก  โดยประเด็นมุ่งเน้นที่สื่อโลกซึ่งเป็นตัวแทนของแนวคิดสื่อตะวันตก  สื่อซึ่งมีความสำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้น นับแต่ระบบระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การล่มสลายของระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ การสิ้นสุดของสงครามเย็นจนกระทั่งความเจริญ ในยุคโลกาภิวัตน์ และการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์แนวคิดของศาสตราจารย์โรเบิร์ต แมคเช็สนีย์ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านสื่อ และการสื่อสาร ที่ได้เสนอแนวคิดไว้ว่า
 
“หนึ่ง บริษัทสื่อหลักที่สำคัญที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกำลังขยายข้ามไปยังส่วนอื่นของโลกด้วยความเร็วที่น่าเป็นอันตรายมาก จุดสำคัญคือศักยภาพในการเจริญเติบโตไปยังต่างประเทศและไม่มีการขัดขวางโดยคู่แข่ง ... สอง การผสมผสานรวบรวมสิ่งต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เป็นลำดับสำคัญในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เป็นสิ่งที่กำลังให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และผู้ที่มีบทบาทหลักในอุตสาหกรรมสื่อดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเครือของสื่อโลก”
 
กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อทราบการทำงานของระบบสื่อโลก การแพร่กระจายของสื่อ 2) เพื่อทราบถึงแนวคิดของโรเบิร์ต แมคเช็สนีย์ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อโลก 3) เพื่อทราบถึงข้อมูลที่ปรากฏเกี่ยวกับการบริโภคสื่อภายใน และภายนอก ของประชาชนในประเทศไทย 4) เพื่อทราบถึงกระบวนการและทิศทางที่เกิดขึ้นของสื่อต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 5) เพื่อทราบถึงบทบาทของสื่อตะวันตกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแทนนั้นมีบทบาทต่อทิศทางสื่อของประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร สำหรับแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้รับจาก หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย วารสาร สิ่งพิมพ์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสรุปรายงานสารนิพนธ์ ประกอบด้วยเนื้อหา 4 ส่วน คือ ข้อมูลพื้นฐานของการทำสารนิพนธ์ ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหางานสารนิพนธ์  ผลการวิเคราะห์ บทสรุปและข้อเสนอแนะ

การวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเคราะห์สารนิพนธ์ในลักษณะเชิงคุณภาพหรือเชิงบรรยาย (
Qualitative Synthesis) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นหลักจากหลักฐาน สภาพการณ์ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้พบว่า แนวคิดของโรเบิร์ต แมคเช็สนีย์ ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับประเทศไทย เนื่องจากเจ้าของสื่อหลักในประเทศไทยก็ยังคงเป็น คนในประเทศไทย และลักษณะรายการที่คนไทยสนใจมากที่สุดนั้นก็ยังคงเป็นละครไทย รายการข่าว สำหรับสิ่งที่มากับภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์วิทยุที่สังคมไทย และสังคมโลกอื่น ๆ ด้วยนั้น คือ วัฒนธรรมตะวันตก


Abstract

This thesis presents media at various levels, from regional to global. The focus is on world media, which is representative of Western media concepts. Media, which is increasingly important Since the international system emerged after World War II, media has become increasingly important. The collapse of the communist system of government marked the end of the Cold War and the beginning of civilization. In the era of globalization and electronic communications, which play an increasing role in life and international relations, it is therefore necessary to analyze the ideas proposed by Professor Robert McChesney, a renowned expert in media and communication.

“First, let's consider a major media company based in the United States. It is spreading across the world at dangerous speeds. The crucial aspect is the ability to expand internationally without facing obstacles from rivals. Second, integration brings things together. Integration is currently a top priority. Especially industries related to media. Large media conglomerates are increasingly supporting the key players in this growing area of interest.”

The study aims to 1) To comprehend how the global media system operates and distribution of media 2) To understand Robert McChesney's perspectives on global media distribution. 3) To learn about Thai individuals' consumption of both internal and external media. 4) To understand the media's role and trajectory in international relations. 5) To understand whether and to what extent Western media, as represented by the United States, influences the direction of Thailand's media. We sourced the data for this study from books, theses, research studies, journals, printed materials, electronic media, and the Internet. The thesis report summary form served as the primary tool for data collection. It consists of four parts: The basic information for writing a thesis includes details about the content analysis results, the conclusion, and recommendations. Theses undergo qualitative or descriptive data analysis and synthesis, employing content analysis techniques grounded in evidence.

The data collection circumstances indicate that Robert McChesney's ideas do not apply to Thailand. Because the main media owners in Thailand are still people in Thailand, the types of programs that Thai people are most interested in are still Thai dramas, news programs, and things that come with movies or radio television programs that Thai society and other world societies as well, that is, Western culture.



Address:

Asst.Prof.Phorramatpanyaprat Tongprasong, PhD, FHEA
Suan Dusit University,

295 Nakhonratchasima RD., Dusit,
Dusit, BKK, Thailand 10300.
TEL. +6622445748


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์
กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
บริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาธุรกิจสร้างสรรค์และเทคโนโลยีดิจิทัล

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา
แขวงดุสิต เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02 244 5748


https://musterverse.dusit.ac.th/

อีเมล
phorramatpanypaprat_ton@dusit.ac.th
phorramatpanyaprat@gmail.com
/////
LINE OA @mustland เพิ่มเพื่อน
 
 

Visit counter For Websites